เมนู

ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาอาศรมบทนั้นอันสำเร็จด้วย
บุญญานุภาพของตน ในกาลนั้น จึงตรัสว่า
ดูก่อนสารีบุตร อาศรมเราสร้างไว้
ดีแล้ว บรรณศาลาเราก็สร้างไว้ดีแล้ว ใกล้
ธรรมิกบรรพตนั้น เราสร้างที่จงกรมซึ่งเว้น
จากโทษ 15 อย่าง ไว้ที่อาศรมบทนั้น.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า สุกโต มยฺหํ แปลว่า เราสร้างไว้ดีแล้ว.
คำว่า ปณฺณสาลา สุมาปิตา ความว่า แม้ศาลาที่มุงด้วยใบไม้ก็ได้ชื่อว่า
เป็นศาลาอันเราสร้างดีแล้ว

ว่าด้วยที่จงกรมมีโทษ 5 อย่าง



คำว่า ปญฺจโทสวิวชฺชิตํ (เว้นจากโทษ 5 อย่าง) ความว่า ขึ้น
ชื่อว่า โทษแห่งที่จงกรมเหล่านั้นมี 5 อย่าง คือ
1. เป็นที่แข็งและขรุขระ (ถทฺธวิสมตา)
2. มีต้นไม้ภายใน (อนฺโตรุกฺขตา)
3. เป็นที่ปกปิดด้วยชัฏ (คหนจฺฉนฺนตา)
4. ที่แคบเกินไป (อติสมฺพาธนตา)
5. ที่กว้างเกินไป (อติสาลตา).
จริงอยู่ ที่จงกรมที่มีภูมิภาคแข็งขรุขระ เท้าทั้งสองของผู้จงกรมย่อม
เจ็บ เท้าย่อมบวม จิตย่อมไม่ได้เอกัคคตา กรรมฐานย่อมวิบัติ. แต่ในพื้นที่
อ่อนสม่ำเสมอกัน โยคีอาศัยที่อาศัยอยู่อันผาสุกแล้ว ก็ทำกรรมฐานให้สมบูรณ์
ได้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบที่จงกรม เพราะเป็นภูมิภาคแข็งและขรุขระ
ว่าเป็นโทษที่หนึ่ง. เมื่อต้นไม้มีอยู่ภายในที่จงกรม หรือมีอยู่ในท่ามกลาง หรือ